Keywords :
Afgekia sericea Craib; visitors; pollinators; Papilionnoideae
บทคัดย่อ :
Afgekia sericea Craib is an endemic species of Thailand and becoming rare due to natural habitats disturbed and very low percentage in the range of 1-3% of fruit setting. The study low. It was found that inflorescences are produced from April to October and each inflorescence lasts about 2 months. SEM investigation revealed that floral structure developed acropetally. Flowers and thesis begins from 4:00 hour and last only one day. The maximum pollen viability is 90% as revealed by terazolium test, but 68% was able to germinate in vitro and the viability abruptly decreased after 24 hours. According to localization of esterase, the stigma receptivity occurs in the same period of time of a thesis. Nineteen insects and one bird species were found to be visitors but only twelve might take part in the pollination, of which Megachile velutina Smith is likely a main pollinators for A. sericea. These insect visitors are attracted by nectars guides on the vexillum and rewarded by pollen and/or nectar. The nectar is produced by secretary cells in the collar disc around the gynoecium. From HPLC analysis, the nectar is composed mainly of sucrose. Bagging experiments yielded no fruit setting. Furthermore, distance between individual plants may affect the success of fruit setting, i.e. the close of plants, the more fruit setting. It might be then concluded that A. sericea is likely cross-pollinating species and is selfincompatible. Thus. Possible causes of low fruit setting might be the existence of selfincompatibility and young fruit abortion.
ถั่วแปปช้างพืชถิ่นเดียวของไทย และมีแนวโน้มเป็นพืชหายาก เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรบกวน และมีอัตราการติดฝักน้อยมาก เพียงี้อยละ 1-3 การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาชีววิทยาการถ่ายละอองเรณู เพื่ออธิบายสาเหตุการติดฝักน้อยในพืชชนิดนี้ จากการศึกษาพบว่า ถั่วแปปช้างออกดอกตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงตุลาคม แต่ละช่อดอกมีอายุประมาณ 2 เดือน การศึกษาโดยใช้กล้องจุลทรรศ์อิเลกตรอนแบบส่งกราด (SEM) พบว่า ส่วนประกอบของดอกมีพัฒนาการแบบการเจริญสู่ปลาย ดอกเริ่มบานตั้งแต่ 04:00 น. และมีอายุ 1 วัน การมีชีวิตของละออกเรณู จากการทดสอบด้วยเททราโซเลียม มีร้อยละ 90 แต่สามารถงอกในห้องทดลองได้ร้อยละ 68 และอัตราการมีชีวิตจะลดลงหลังจากละออกเรณูมีอายุ 24 ชั่วโมง จากการทดสอบเอนไซม์เอสเทอเรส พบว่า ยอดเกสรเพศเมียมีความพร้อมในช่วงที่ดอกบาน การศึกษาครั้งนี้พบแมลง 19 ชนิด และนก 1 ชนิด ที่มีปฏิสัมพันธ์กับดอกถั่วแปปช้าง แต่มีเพียง 12 ชนิด เท่านั้นที่น่าจะเป็นพาหะถ่ายเรณู โดย Megachile veluliana Smith เป็นพาหะถ่ายเรณูหลัก แมลงเหล่านี้ถูกดึงดูดโดยตัวชี้น้ำต้อยบนกลีบกลาง และเก็บละออกเรณู และ/หรือน้ำต้อยจากดอก น้ำต้อยผลิตโดยเซลล์หลั่งในต่อมน้ำต้อยที่มีลักษณะเป็นจานฐานดอกรอบวงเกสรเพศเมีย จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการโครมาโทกราฟีของเหลวแบบสมรรถนะสูง พบว่า น้ำต้อยมีซูโครสเป็นองค์ประกอบหลัก จากการกันพาหะถ่ายเรณูออกจากดอก พบว่า ไม่มีการติดฝัก และการถ่ายละออกเรณูแบบเปิด ซึ่งแมลงสัมผัสดอก ทำให้เกอดการติดฝักได้ ยิ่งไปกว่านั้น ระยะทางระหว่างต้นมีผลต่อการติดฝัก คือ ถ้าต้นใกล้กันติดอัตราการติดฝักจะมีเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าถั่วแปปช้างมีแนวโน้มที่เป็นพืชผสมข้าม และมีการผสมตัวเอกไม่ได้ และสาเหตุของการติดฝักน้อยเกิดจาก การไม่ผสมตัวเอง และการฝ่อของฝักอ่อน
เอกสารอ้างอิง :
Chourykeaw, M. B. (2002). Pollination Biology of Afgekia sericeaCraib (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University).